ความปลอดภัยเกี่ยวกับรถยก

การยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธี

               
                   การยกของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ดูเหมือนจะเป็นงานง่ายๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าในแต่ละปีมีผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการยก ของไม่ถูกวิธีเป็นจำนวนมาก อย่างเช่นในปี 2546 มีผู้ที่ต้องรับการรักษาเนื่องจากยกหรือเคลื่อนย้ายของหนัก เป็นจำนวนถึง 4,425 ราย ดังนั้น การเรียนรู้และปฏิบัติตามขั้นตอนการยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งการยกเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธีนั้นประกอบด้วย การวางแผนการยกและขั้นตอนการยก ดังต่อไปนี้

การวางแผนการยก

หลักการทั่วไปในการวางแผนการยก เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนยก มีดังต่อไปนี้


              1. ต้องประเมินน้ำหนักของวัสดุสิ่งของ ว่าจะยกตามลำพังเพียงคนเดียวได้หรือไม่

             2. ถ้าไม่สามารถยกได้ต้องหาคนช่วยยก ไม่ควรพยายามยกเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักมากโดยลำพัง

            3. ตรวจสภาพบริเวณที่จะยกโดยรอบ เช่น ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทาง มีเนื้อที่ว่างมากพอในการยกเคลื่อนย้าย พื้นจะต้องไม่ลื่น และมีแสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น

            4. ควรใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้กำลังแรงงานคน

            5. จัดวางตำแหน่งวัสดุสิ่งของที่จะยก ไม่สูงเกินกว่าระดับไหล่

            6. การทำงานกับวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักต่างๆ กัน เมื่อยกของที่หนักแล้วให้สลับมายกของเบาเพื่อพักกล้ามเนื้อ และเพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

           7. ควรใช้ถุงมือ เพื่อป้องกันการถลอก ขูดขีด และการถูกบาดจากของมีคม และสวมใส่รองเท้านิรภัยเพื่อป้องกันการลื่นไถลและป้องกันการบาดเจ็บจากวัสดุสิ่งของหล่นทับ

การยกที่ถูกวิธี
การยกวัสดุสิ่งของคนเดียว โดยวัสดุสิ่งของอยู่ระดับพื้น

               1. ยืนชิดวัสดุสิ่งของ วางเท้าให้ถูกต้องและมีความมั่นคง เพื่อป้องกันการเสียสมดุลของร่างกาย


              2. ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง เพื่อรักษาสภาพความโค้งของกระดูกสันหลังให้เป็นแนวตรง หรือเป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อให้แรงกดลงบนหมอนรองกระดูกสันหลังมีการกระจายตัวเท่าๆ กัน

             3. จับวัสดุสิ่งของให้มั่นคงโดยใช้ฝ่ามือจับ เพื่อป้องกันการลื่นหลุดมือ และหากเป็นไปได้ ควรมีที่จับหรือหูจับ เพื่อทำให้จับได้ถนัดและง่ายขึ้น

            4. ควรให้แขนชิดลำตัว ไม่ควรกางแขนออก และให้วัสดุสิ่งของที่จะยกอยู่ชิดกับลำตัวให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำหนักของวัสดุสิ่งของผ่านลงที่ต้นขาทั้งสองข้าง

           5. ควรให้ตำแหน่งของศีรษะสัมพันธ์กับร่างกาย โดยให้ศีรษะและกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเดียวกัน คืออยู่ในแนวตรง ซึ่งจะทำให้มองเห็นทางเดินได้ชัดเจนในขณะที่ยกขึ้นและเดิน

           6. ค่อยๆ ยืดเข่า เพื่อยืนขึ้นโดยใช้กำลังจากกล้ามเนื้อขา และขณะที่ยืนขึ้น หลังจะอยู่ในแนวตรงหรือเป็นไปตามธรรมชาติ

การยกวัสดุสิ่งของด้วยคนสองคน

               เป็นลักษณะการช่วยยกวัสดุสิ่งของหนึ่งชิ้นด้วยคนจำนวนสองคน โดยยกที่ด้านหัวและด้านท้ายของวัสดุสิ่งของ ซึ่งใช้ท่าทางการยกรูปแบบเดียวกับการยกคนเดียว ในการยกเคลื่อนย้าย ควรยกขึ้นพร้อมกัน อาจใช้วิธีนับหนึ่ง สอง สาม แล้วยก เป็นต้น และควรใช้ความเร็วในการยกเท่ากัน ในกรณีที่น้ำหนักด้านหัวและด้านท้ายของวัสดุสิ่งของไม่เท่ากัน และต้องยกหลายครั้งผู้ยกทั้งสองควรสลับด้านกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้


              1. ยืนชิดวัสดุสิ่งของ วางเท้าให้ถูกต้องและมีความมั่นคงเพื่อป้องกันการเยสมดุลของร่างกาย

             2. ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง เพื่อรักษาสภาพความโค้งของกระดูกสันหลังให้เป็นแนวตรง หรือเป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อให้แรงกดลงบนหมอนรองกระดูกสันหลังมีการกระจายตัวเท่ากัน

            3. จับวัสดุสิ่งของให้มั่นคงโดยใช้ฝ่ามือจับ เพื่อป้องกันการลื่นหลุดมือ และหากเป็นไปได้ควรมีที่จับหรือหูจับ เพื่อทำให้จับได้ถนัดและง่ายขึ้น 

           4. ควรให้แขนชิดลำตัว ไม่ควรกางแขนออก และให้วัสดุสิ่งของที่จะยกอยู่ชิดกับลำตัวให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำหนักของวัสดุสิ่งของผ่านลงที่ต้นขาทั้งสองข้าง

            5. ควรให้ตำแหน่งของศีรษะสัมพันธ์กับร่างกาย โดยให้ศีรษะและกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเดียวกัน คือ อยู่ในแนวตรง ซึ่งจะทำให้มองเห็นทางเดินได้ชัดเจนในขณะที่ยกขึ้นและเดิน

           6. ค่อยๆ ยืดเข่าเพื่อยืนขึ้น โดยใช้กำลังจากกล้ามเนื้อขา และขณะที่ยกขึ้น หลังจะอยู่ในแนวตรงหรือเป็นไปตามธรรมชาติ 
 
ที่มา : http://www.npc-se.co.th/knowledge_center/npc_knowledge_detail.asp?id_head=4&id_sub=21&id=244 
 
 
 
 
เทคนิคการยกของหนักและท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน

การยกของหนักที่ไม่ถูกต้องอาจนำมาซึ่งอาการปวดหลัง ซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. อาการรุนแรง เกิดจากการเส้นพลิกของหมอนรองกระดูกสันหลัง เกิดอาการปวดหลังร้าวลงมาตามขา ชาและขาอ่อนแรง
2. อาการไม่รุนแรง เกิดจากมีอาการยอกของกล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการปวดหลัง
การยกของหนักที่ไม่ถูกต้อง
1.เอื้อมมือหยิบวัตถุที่ไกลเกินไป
2. ก้มหลังยกของ
3. ถือของไกลตัว
4. บิดตัวขณะยกของ


หลักการยกของหนัก
1.ทดสอบน้ำหนักของที่จะยก
2. ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือใช้รถเข็นหากไม่สามารถยกคนเดียว
3. ใช้กล้ามเนื้อขาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องระหว่างการยก
4. เมื่อยกของ ควรให้ของที่ยกอยู่ชิดตัวผู้ยกมากที่สุด
5. หากจำเป็นต้องย้ายของ จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งไม่ควรบิดตัวพร้อมกับการยกของ ควรจะยกของขึ้นให้เสร็จแล้วหมุนตัวไปในทิศทางที่ต้องการจะไป
6. ยกของขึ้นอย่างนุ่มนวล ไม่กระตุก


วิธีการยกของหนักแบบต่างๆ
1. การยกแบบเก็บลุกกอล์ฟ ใช้เมื่อยกของเบาๆ ผู้ยกมีกำลังขาน้อยหรือมีอาการปวดเข่า
2. การยกแบบการใช้กำลัง โดยให้หลังตรงเสมอ และใช้กำลังจากกล้ามเนื้อขาใช้เมื่อยกของที่มีน้ำหนักมาก
3. การยกแบบใช้เข่าข้างเดียว ใช้เมื่อต้องการยกวัตถุที่มีลักษณะเทอะทะ

ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน
ท่ายืนที่ถูกต้อง
- วางเท้าห่างกันพอประมาณ หรือวางเท้าเหลื่อมกันมาทางด้านหน้าเล็กน้อย
- เข่าเหยียดพอดี สะโพก และลำตัวอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
- หลังเหยียดพร้อมเก็บหน้าท้อง
- ศีรษะตรง ไหล่ปล่อยตามสบาย


ท่ายืนที่ไม่ถูกต้อง
- เท้าชิดกันมากเกินไป หรือลงน้ำหนักเท้า 2 ข้างไม่เท่ากัน
- เข่างอ หรือแอ่นเกินไป หรือ ระดับตะโพกสูงไม่เท่ากัน
- หลังแอ่นมากเกินไป หรือแบนจะไม่มีส่วนโค้ง
- คางยื่นออกมาด้านหน้า หรือศีรษะเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

การนั่งเก้าอี้ที่ดีนั้น น้ำหนักจะต้องตกลงผ่านก้น ลำตัวตรงไม่แอ่นบริเวณหลังส่วนล่างมากไปไม่ก้มจนไหล่ห่อ เท้าวางราบกับพื้น


เก้าอี้ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ควรมีพนักพิงหลังบริเวณบั้นเอว
2. ความสูงของพนักพิงจะต้องพอดีกับมุมล่างของกระดุกสะบัก
3.ความลึกของเบาะรองนั่ง ควรรองรับขาท่อนบนได้ทั้งหมด ( ประมาณ 16 นิ้ว ) ถ้าเก้าอี้สูงเกินไปให้หาเบาะรองที่เท้าถ้าเก้าอี้เตี้ยเกินไปให้หาเบาะมาเสริมที่นั่ง
4.พนักพิงควรทำมุมกับที่นั่งประมาณ 105 องศา เพื่อให้โค้งกระดูกสันหลังระดับเอวคงสภาพปกติ


การนั่งขับรถ
เมื่อนั่งขับรถเร็ว ขาจะไม่เหยียดเกินไป ข้อขาต้องอยู่สูงกว่าข้อสะโพก พนักพิงรถที่ดีควรจะเอียงไปด้านหลังเล็กน้อย มีลักษณะโค้งให้เหมาะสมกับโค้งของกระดูกสันหลังระดับเอว

Visitors: 420,714