ลิฟท์ขนของ
ติดตั้งลิฟต์ขนส่งชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ความปลอดภัยในการติดตั้งลิฟต์ขนส่ง
1.ภายในลิฟต์นั้นต้องสามารถรับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2เท่าของน้ำหนักการใช้งาน
2.พื้นในลิฟต์ขนส่งต้องแข็งแรง
3.ฐานรองรับหอลิฟต์ ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2เท่าของน้ำหนักหอลิฟต์
4.หอลิฟต์ต้องยึดโยง และค้ำยัน ตรึงกับพื้นดินหรือตัวอาคารอย่างแข็งแรง
5.ภายในตัวลิฟต์ต้องมีผนังป้องกัน เพื่อไม่ให้วัสดุสิ่งของตกหล่นลงมาได้
6.หากสร้างลิฟต์เสร็จสิ้นแล้ว ต้องให้วิศวกร ผู้ควบคุมงาน ต้องตรวจและรับรองว่าได้สร้างถูกต้องตามข้อกำหนด
7.ทางเชื่อมระหว่างลิฟต์ขนของกับอาคาร ต้องมีราวกันของ สูงไม่น้อยกว่า 90เซนติเมตร และไม่เกิน 1.10เมตรจากพื้นทางเดิน
การตรวจสอบและทดสอบลิฟต์(ลิฟท์)
ลิฟต์โดยสาร (Elevator, Passenger Lift)
ลิฟต์ขนส่งวัสดุ (Material Lift)
การตรวจสอบ หมายความว่า การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ภาชนะรับความดัน หรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน
การทดสอบ หมายความว่า การตรวจสอบ ทดลอง และรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือกลไกการทำงานอุปกรณ์เพื่อความถูกต้องและปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แล้วแต่กรณี
“วิศวกร” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ลิฟต์โดยสาร หมายความว่า เครื่องจักรใช้สำหรับบุคคลโดยสารหรือขนส่งสิ่งของขึ้นลงระหว่างชั้นต่างๆของอาคาร ยานพาหนะ หรือโครงสร้างอื่น
ลิฟต์ขนส่งวัสดุ หมายความว่า เครื่องจักรใช้เฉพาะขนส่งวัสดุสิ่งของขึ้นลงระหว่างชั้นต่างๆของอาคาร ยานพาหนะ หรือโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช้สำหรับบุคคลโดยสาร
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒๑ ให้วิศวกรตามกฎกระทรวงนี้เป็นผู้ทดสอบการดำเนินการตามข้อ ๔๕ ข้อ ๕๔ข้อ ๕๕ ข้อ ๕๗ ข้อ ๕๘ ข้อ ๖๓ ข้อ ๑๐๕ ข้อ ๑๐๗ ข้อ ๑๐๙ ข้อ ๑๑๐ ข้อ ๑๑๑ข้อ ๑๑๓ และข้อ ๑๑๔ จนกว่าจะได้มีบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี
* มีบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา ๙ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2565